วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550

บทวิจารณ์วรรณกรรม (1)

ในเวลาและแผ่นดินอื่นของ“คนขายโรตีจากศรีลังกา”ความจริงที่เราต่างสร้างกันขึ้นมาและต้องยอมรับมันให้ได้

อารดา เปรมพันธุ์

หากว่า กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ไม่จากลาโลกนี้ไปเสียก่อน วรรณกรรมชั้นดีของสยามประเทศน่าจะมีออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง – ผมคิดเช่นนั้น

และหากว่ากนกพงศ์เป็นนักเขียนชาวยุโรปหรืออเมริกา การออกผลงานใหม่ภายหลังจากเขาลาโลกไปแล้ว ผลงานนั้นน่าจะเป็นผลงานที่ถูกกล่าวถึงและเฝ้าติดตามกันอย่างแน่นอน

แต่นี่เขาเป็นนักเขียนของประเทศไทย ประเทศที่ว่ากันว่ามีคนอ่านหนังสือน้อยเต็มที และที่อ่านวรรณกรรมก็มีน้อยยิ่งกว่าน้อย “นิทานประเทศ” รวมเรื่องสั้นเล่มใหม่ของกนกพงศ์ ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายหลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว จึงกลายเป็นเพียงรวมเรื่องสั้นเล่มหนึ่งที่ไม่แน่ใจว่าจะได้รับการยอมรับและกล่าวถึงมากน้อยเพียงใด

แน่นอนว่า อย่างน้อยที่สุดขอให้ผู้คนที่รักวรรณกรรมและหลงใหลในความงามแห่งวรรณศิลป์อ่านมันเถอะ อ่านมันเพื่อจะพบว่า วรรณกรรมชั้นดีนั้นเขาเป็นอย่างไร และที่ผ่านมานักเขียนบ้านเราก็ทำออกมาได้ดีไม่น้อยหน้าไปกว่าใครอื่นเขา

แม้เพียงกนกพงศ์จะเป็นนักเขียนหนุ่ม แต่พลังแห่งนักเขียนหนุ่มของเขาก็ได้รับการพิสูจน์มาแล้วจากน้ำเนื้อวรรณกรรมที่เขาสร้างสรรค์มาตลอดวันวัยแห่งชีวิตที่ผ่านมา

ผมต้องบอกตามตรงว่า สำหรับ “นิทานประเทศ” รวมเรื่องสั้นเล่มล่าสุดของกนกพงศ์ ที่รูปเล่มหนาเตอะเล่มนี้ ผมยังอ่านไม่จบ

อ่านไปได้เพียงแค่ 3 เรื่องแรกเท่านั้น แต่ก็พอมองเห็นโครงสร้างความคิดของบรรณาธิการในการรวมเล่มได้อย่างเลาๆ

แน่นอนว่าสำหรับกนกพงศ์ นั้นผู้อ่านของเขามักคุ้นเคยกับการเขียนเรื่องสั้นให้ออกมายาวๆ และมีสไตล์เป็นของตัวเองอย่างที่เห็น

การยอมรับในฝีไม้ลายมือนั้นมีมากแล้วจากผลงานมาสเตอร์พีซอย่าง “แผ่นดินอื่น” รวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรท์ที่ประเทศนี้ทันมอบให้กับเขาเป็นการตอบแทนเมื่อปี 2539 ที่ผ่านมาเขามีผลงานรวมเรื่องสั้นหลังจากแผ่นดินอื่นออกมาอีกหนึ่งเล่มในชื่อเล่มว่า “โลกหมุนรอบตัวเอง” ซึ่งผมเองก็ยังไม่ได้อ่าน

ดังนั้นขอผู้อ่านจงอย่าได้เข้าใจว่าผมวิจารณ์หนังสือรวมเรื่องสั้น “นิทานประเทศ” เพราะวันนี้เราจะมาสนุกกันกับการวิเคราะห์วิจารณ์ เรื่องสั้นเรื่องเดียวที่รวมอยู่ในเล่มนี้

เรื่องสั้นเรื่องนั้นชื่อ “คนขายโรตีจากศรีลังกา” (กรุณาขีดเส้นดินสองเส้นตีด้วยไม้บรรทัดใต้ชื่อเรื่อง)

ทำไมผมจึงคิดหยิบเรื่องสั้นเรื่องนี้มาวิเคราะห์วิจารณ์กันในที่นี้?

คำตอบคือ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวที่ผมอ่านจบจริงๆ ,เพราะเรื่องนี้มีประเด็นให้ผมคิดมากจริงๆ ,เพราะเรื่องสั้นเรื่องนี้มีมุมมองให้เราทำความเข้าใจได้มากจริงๆ ,และเพราะชื่อของมันเทห์ดี จริงๆ

ว่าแล้วผมก็ขอสนุกกับการวิจารณ์เรื่องสั้นเรื่อง “คนขายโรตีจากศรีลังกา” (กรุณาขีดเส้นดินสอสองเส้นตีด้วยไม้บรรทัดใต้ชื่อเรื่อง)

แม้งานเขียนชิ้นนี้จะถูกกำหนดให้เป็นวรรณกรรมวิจารณ์ กระนั้นผมก็ขอ “ลองเล่น” กับงานเขียนวิจารณ์ชิ้นนี้ดูสักหน่อย ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะผมคิดว่า ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรอย่างน้อยมันก็จะต้องทำหน้าที่ของมันนั้นคือ ตีแผ่งานเขียนชิ้นนี้ออกมาในเชิงวิเคราะห์วิจัยนั้นเอง


หากว่า “คนขายโรตีจากศรีลังกา”เป็นหนัง


แน่นอนว่า หากว่า “คนขายโรตีจากศรีลังกา”เป็นหนัง แน่นอนว่าหนังเรื่องนี้จะต้องเป็นหนังชีวิต สุข เศร้า เคล้าน้ำตา มีกลิ่นอาจของผู้กำกับอย่าง อับบาส แห่งอิหร่าน หรือไม่ก็เป็นหนังในแนวทางแบบของสัตยาจิต เรย์ แห่งอินเดีย

เรื่องราวแม้จะออกมาเป็นดราม่า แต่ก็ไม่ไหลลึกไปจนกลายเป็นเมโลดราม่าพื้นๆ ด้วยว่าการวางตัวละครของหนังเป็นการจัดวางที่ผู้เขียนทำเอาไว้อย่างแนบเนียน นับแต่ตัวเอกของเรื่องคือคนขายโรตีจากศรีลังกา (ณ ที่นี้เราจะเรียกเขาว่าพระเอกของเรื่อง) คนเดินเรื่องคือ ครูใหญ่ และครอบครัว ที่มีภรรยา และลูกๆ ส่วนนางเอกของเรื่องคือ เมียของคนขายโรตีจากศรีลังกาผู้อาศัยอยู่ในป่าช้ากับลูกๆ ที่คลอดกันออกมาเหมือนคลอกแม่ไก่

เรื่องราวเปิดขึ้นที่ตัวละครที่ไม่รู้ที่ไปแต่รู้ที่มาคือ คนขายโรตีจากศรีลังกา เขาเดินขายโรตีในหมู่บ้านเล็กๆ เดินไปทุกซอกทุกซอย มีลูกค้าบ้างไม่มีบ้างเป็นธรรมดาของการค้า แต่สุดท้ายก็เกิดข่าวลือเรื่องคนทมิฬเอาหัวเด็กไปถมสะพานที่จะทอดไปสู่สิงค์โปร (ในเรื่องนี้ผมไม่แน่ใจว่าในภูมิภาคอื่นของสยามประเทศเกิดขึ้นบ้างหรือเปล่า แต่สำหรับภาคใต้ของไทยเราช่วงปี 2519-2523 ข่าวลือประเภทนี้มีให้ได้ยินอย่างต่อเนื่อง และเสมอๆ)

บรรดาแม่ๆ ในหมู่บ้านมักจะเอาข่าวลือนี้มาขู่เมื่อลูกของเธอๆ ซุกซนและออกไปเล่นไกลบ้าน สุดท้ายคนศรีลังกาขายโรตีก็ต้องเลิกขายไป เพราะขายไม่ได้และจู่ๆ เขาก็ไปได้เมียเป็นหญิงสาวแปลกหน้าที่อาศัยอยู่ในที่ดินท้ายป่าช้าเป็นเมีย

เรื่องราวน่าจะจบลงแค่นี้ แต่ไม่เท่านั้น สุดท้ายคนขายโรตีชาวศรีลังกาก็ต้องประสบกับวิบากกรรมของชีวิต เมื่อเขามีลูกชายลูกชายก็ตายไปทีละคน มีลูกสาว 3 คนก็ไม่ค่อยพูดไม่ค่อยจากับใครเหมือนกับแม่ของเธอที่ดูเหมือนหวาดระแวงสังคมอยู่เสมอๆ จะมีก็เพียงคนศรีลังกาเท่านั้นที่ทำสวนปลูกผัก และเลี้ยงเป็นเป็นอาชีพอยู่ท้ายป่าช้า

กนกพงศ์ผูกเรื่องให้เข้มข้นขึ้นเมื่อลูกชายคนที่สองของคนศรีลังกาเสียชีวิตลงเพราะถูกเด็กในหมู่บ้านกลั่นแกล้งจับไปมัดเอาไว้ในวันหลังจากออกพรรษาของปีๆหนึ่ง ในจำนวนเด็กที่แกล้งเขานั้นก็มีลูกของครูใหญ่ ผู้เล่าเรื่องราวทั้งหมดของคนศรีลังกาคนนี้รวมอยู่ด้วย เหตุผลที่หนุน้อยให้กับพ่อและแม่ของเขาในการฆ่า ก็เพราะเด็กคนนั้นเป็นลูกของคนศรีลังกา คนศรีลังกาต้องจับเด็ก

เรื่องราวทั้งหมดของหนังจะบอกเล่าผ่านสายตาของครูใหญ่ กนกพงศ์มีหน้าที่มากที่สุดคือสอดแทรกอารมณ์ และพยายามฉายภาพของตัวละครด้านลึกออกมาให้มากที่สุด ดังนั้นในความเป็นหนังเราจึงมองเห็นความสุข ความทุกข์ และความเศร้าโศกผ่านใบหน้าและสายตาของครูใหญ่แทบทั้งหมด

เรียกว่าบทของพระเอกเรานั้นน้อยเต็มที โดยเฉพาะศรีนาคร คนศรีลังกา และภรรยากับลูกนั้นในเรื่องเขาพูดแทบนับคำได้ ตัวศรีนาครจะพูดก็เพียงแค่หลังยกมือไหว้ ว่า “เป็นพระกรุณายิ่ง...” ยิ่งลูกสาวด้วยแล้วไม่พูดเลย มีที่ถ่ายทอดเป็นคำพูดผ่านเรียงความว่า “พ่อของฉันเป็นชาวศรีลังกา...” เท่านี้ก็เรียกน้ำตาคนดูได้อย่างเต็มที่แล้ว

จุดนี้นับว่ากนกพงศ์ทำออกมาได้อย่างดีและน่าชื่นชมเลยทีเดียว คนที่เป็นคนไร้น้ำหนักในสังคม ถูกชะตากรรมเล่นงานอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร ไม่จำเป็นต้องพูดมาก พูดน้อยๆ แต่ต่อยหนักเท่านี้ก็เรียกความน่าสงสารหั้บคนดูได้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญเขาเข้าฉากเมื่อไรเมื่อนั้นแย่งซีนจากตัวละครอื่นได้ทันทีทันใดเสมอ

ตัวละครที่ดูจะมีชีวิตชีวาอีกตัวคือภรรยาของครูใหญ่ เธอถูกวางตัวให้เป็นผู้หญิงในสังคมไทย คนที่ว่าก็ว่าตามกัน เธอเองที่เป็นคนเอาเรื่องคนทมิฬจับเด็กไปขู่ลูกกระทั่งกลายเป็นปมในใจของเด็กน้อย และเธอเองที่เป็นคนไถ่บาปของครอบครัวด้วยการเอื้ออาทรครอบครัวชาวศรีลังกา

หนังเรื่องนี้จบลงอย่างน่าเศร้า แต่ก็ทิ้งปมให้ผู้ชมได้คิด มันเป็นดราม่าที่เรียกได้ว่าเป็นเพื่อชีวิตสุดๆ แตกต่างอยู่บ้างก็ตรงที่ผู้กำกับอย่างกนกพงศ์ ไม่ยอมปล่อยให้ตัวละครของเขาออกมาฟูมฟายหาความชอบธรรม หรือไม่แม้แต่จะให้ตัวละครของเขาทั้งหมดออกมาชี้นำผู้ชมว่าใครถูกใครผิดในสังคมที่ความจริงไม่รู้จักความจริงเช่นนี้

นัยหนึ่งหากว่า “คนขายโรตีจากศรีลังกา”เป็นหนัง กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ก็เป็นผู้กำกับและเขียนบท ดาราของเขาที่คัดมาแสดงทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีอย่างยิ่ง แต่ละคนต้องแสดงออกทางสีหน้ามากกว่าคำพูด ฉายภาพความคิดและปมปัญหาของเรื่องออกมาผ่านความสัมพันธ์ที่มีฉากหลังเป็นสังคมเล็กๆ สังคมหนึ่ง ในประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เช่นนั้นแล

บทสรุปของหนังจะจบลงตรงที่ “โลกยังคงหมุนต่อไป” ภาพเฟดเอ้าท์ เป็นกล้วยน้ำว้า และฝักถั่วที่เฉาเศร้าใบซบดิน...


แต่ “คนขายโรตีจากศรีลังกา”เป็นเรื่องสั้น


เป็นเรื่องสั้นที่มีขนาดยาวพอสมควร มันถูกเขียนเสร็จเมื่อไรไม่แน่ใจนักแต่ตีพิมพ์ครั้งแรกที่นิตยสารขวัญเรือน เมื่อปี 2545 เพราะนิตยสารขวัญเรือนเป็นนิตยสารแนวผู้หญิงแม่บ้านหรือเปล่าไม่แน่ใจนัก กนกพงศ์ จึงตัดสินใจส่งผลงานของเขาให้ไปเผยแพร่ที่สนามแห่งนี้เป็นที่แรก

และเพราะ “คนขายโรตีจากศรีลังกา” มีตัวละครสำคัญคือภรรยาครูใหญ่ที่ต้องเจ็บร้าวจากปมที่เธอผูกให้ลูกน้อย กระทั่งกลายเป็นรอยช้ำของครอบครัวหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจอีก งานเรื่องนี้เลยได้พิสูจน์ตัวมันเองกับผู้อ่านในชั้นต้น

กนกพงศ์ฉลาดที่สร้างตัวละครของเขาขึ้นมาได้อย่างลงตัว เรื่องราวบอกเล่าผ่านสายตาเอื้ออาทรของครูใหญ่ที่มีภรรยาและลูกสาวลูกชาย เนื้อหาของครอบครัวนี้ตีคู่กันไปกับครอบครัวของคนขายโรตีชาวศรีลังกา ที่มีลูกชายสองและลูกสาวอีกสาม

หากว่าในหมู่บ้านนั้นครูใหญ่และภรรยาเป็นที่นับหน้าถือตาเป็นบุคคลแนวหน้าของชุมชน ศรีนาครและภรรยาพร้อมลูกก็เป็นคนที่อยู่ชั้นล่างสุดของชุมชน หากว่าครูใหญ่เป็นคนที่โชคชะตาไม่ได้เล่นตลก ศรีนาครก็เป็นคนที่ถูกโชคชะตาเลือกมาให้กลายเป็นคนสำคัญของปัญหา

สิ่งที่กนกพงศ์ทำลงไปในงานเขียนชิ้นนี้ของเขาชั้นแรกก็คือ การเลือกเอาแง่มุมทางจิตวิเคราะห์แบบฟรอยด์ มาสอดใส่ในตัวละครทุกตัวของเรื่อง

ครูใหญ่เป็นคนแรกที่เกิด ID จากการหลงลืมและไม่เฝ้ามองลูกบ้านผู้อยู่ชายขอบ สุดท้ายมันกลายเป็น EGO ก็ต่อเมื่อลูกชายของเขาเองกลายเป็นหนึ่งในผู้ชำเราชะตากรรมบาปให้แก่คนที่เขามองข้าม

ตัวภรรยาของครูใหญ่ก็ไม่ต่างกัน

ลูกชายของเขานั้นถูกสร้าง EGO มาตั้งแต่ชั้นแม่ไปแล้วมันปลูกฝังจนยากยิ่งที่จะแก้ไข

แต่ทางออกเดียวที่มีอยู่ของสังคมคนแบบไทยๆ ก็คือ หากคำตอบให้กับตัวเองว่า “ได้ทำดีที่สุดแล้ว” ครูใหญ่และภรรยาแม้จะรู้สึกผิดอยู่เสมอที่ครอบครัวเธอทำกับครอบครัวศรีนาคร สามารถหาทางออกได้ก็เพียงแค่บอกตัวเองว่าทำดีที่สุดแล้ว

ดีที่สุดในความเข้าใจของเขาและเธอก็คือ การแสดงความเอื้ออาทร ไปช่วยปลูกผักปลูกหญ้าเพื่อชำระความผิดของตัวเองที่ค้างอยู่ภายใน แต่เมื่อครูใหญ่อยากจะช่วยให้ศรีนาครกลายสภาพจากคนศรีลังกามาเป็นคนไทย เขาต้องผจญกับปัญหาร้อยแปดทั้งปัญหาการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ หรือแม้แต่ปัญหาสังคมเขาไม่อาจช่วยอะไรได้นอกเพียงจากบอกตัวเองว่าทำดีที่สุดแล้ว

ตัวละครอย่างศรีนาคร ดูเหมือนจะเป็นตัวละครที่ตื้นที่สุดในจำนวนทั้งหมดทั้งนี้เพราะผู้เขียนกำหนดให้เขาต้องเป็นผู้รับชะตากรรม ดังนั้นผู้รับชะตากรรมไม่จำเป็นต้องแสดงบทบาทมาก ขอเพียงอย่างเดียว คือยอมรับกับความจริง และการยอมรับกับความจริงที่ง่ายที่สุดก็คือการโยนทั้งหมดไปให้กับความคิดทางศาสนา สรุปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกรรม และมันก็เหมาะควรที่สุดแล้วกับตัวละครที่จะต้องมาจากศรีลังกา เป็นศรีลังกาที่เป็นเมืองพระพุทธศาสนาที่สำคัญของโลก

ขณะที่เรื่องราวของปมปัญหาของเรื่องนั้นกนกพงศ์ทำออกมาได้อย่างน่าชื่นชม เขาช่างสังเกตและกลั่นกรองมันออกมา แม้ไม่ให้คำตอบแต่ก็ฉายภาพของสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นงานสัจจนิยมชั้นดีไปในที่สุด

ปัญหาของเรื่องที่เกิดขึ้นมานี้คือประเด็นเรื่องของความจริง กนกพงศ์ตั้งคำถามกับความจริงว่า เพียงเพราะเขา – ศรีนาคร ไม่ได้เกิดมาในแผ่นดินไทย และผิวของเขาดำ เท่านั้นหรือที่เขาจะต้องถูกกีดกันไม่ให้อาศัยอยู่ในแผ่นดินนี้

หรือหากว่าอยู่ได้ก็ต้องอยู่ที่ชายขอบของหมู่บ้านตรงที่แสงสว่างเข้าไม่ถึงอย่างป่าช้าท้ายหมู่บ้านเท่านั้นหรือ ทั้งที่แท้จริงในแง่ของความเป็นคนนั้น เขาเป็นคนดี จิตใจงาม และที่สำคัญ เขาก็มีชีวิตเลือดเนื้อรักลูกหลานและครอบครัวไม่ต่างจากครอบครัวของคนอื่น

งานเรื่องนี้ตั้งคำถามทั้งเชิงจุลภาคและมหภาคได้อย่างน่าสนใจ ขณะเดียวกันเขาก็ฉายภาพฉากหลังเอาไว้ให้มีเสน่ห์อย่างยิ่ง มีเสน่ห์จนเราๆ ท่านๆ ผู้อ่านทั่วไปทำความเข้าใจได้ โดยไม่ได้รู้สึกรักเกียจเจ้าหน้าที่หรือคนที่ครูใหญ่ไปติดต่อแต่อย่างใด (ทั้งนี้เพราะเราต่างแต่เฉยเมยอยู่ในสังคมที่แท้จริงความจริงคือสิ่งที่เราสร้างกันขึ้นมา)

ดังนั้นเรื่องสั้นเรื่องนี้ แท้จริงแล้วกนกพงศ์ชักชวนผู้อ่านของเขาให้มาถกเถียงกันเรื่องของความจริงนั้นเอง ซึ่งเขาก็สามารถจบการวิวาทะกับผู้อ่านได้อย่างน่าสนใจตรงประโยคที่ว่า...

“ชั่วขณะหนึ่งข้าพเจ้ารู้สึกชิงชังโลกใบนี้ ข้าพเจ้าต้องยอมแพ้กับความจริงง่ายๆ ความจริงที่เราชวนกันสร้างขึ้นมา ความจริงซึ่งไม่น่าจะเป็นความจริง! ทว่าเมื่อเราไม่อาจปฏิเสธ เราก็ต้องยอมรับมัน ข้าพเจ้าต้องยอมรับ! ศรีนาครยิ่งกว่าเขาถึงขั้นต้องยอมจำนน จะให้เขาทำเช่นใดได้อีก...”(นิทานประเทศ,สำนักพิมพ์นาคร 2546,หน้า 102)

เรื่องสั้นเรื่องนี้ถูกผูกขึ้นอย่างมีเสน่ห์ กนกพงศ์ใช้ฉากการเปลี่ยนแปลงมาเป็นพื้นหลังของเรื่อง ภาพบรรยายต่างๆ บ่งบอกเป็นนัยถึงการเดินทางของโลก ขณะเดียวกันปัญหาที่เกิดฉายบอกได้ก็เพียงปัญหาของความจริงที่มีอยู่เท่านั้น

ว่ากันว่าโลกหลังสมัยใหม่เรื่องของ กาละ และเทศะ เป็นประเด็นสำคัญในการวิเคราะห์วิจัยมนุษย์ เรื่องสั้นเรื่องนี้สรุปให้เราเห็นว่า คนศรีลังกา นั้นเขามาผิดที่ผิดเวลา ผิดกาละ และผิดเทศะ ทั้งนี้เพราะในเทศะ(พื้นที่) แห่งนี้ที่เขามาอาศัยนั้นมันถูกสร้างความจริงว่าเขาจะต้องอยู่อย่างคนอีกชนชั้นหนึ่ง แผ่นดินที่อยู่ก็เป็นทีที่คนในสังคมไม่อยู่กัน ดังนั้นเมื่อเขาเคลื่อนที่ตัวเองจากชายขอบมารับจ้างทำงานในเมือง เขาก็ต้องถูกจับและส่งกลับไปยังบ้านเกิดของตัวเองในที่สุด ส่วนเรื่อง กาละ (เวลา)ก็เช่นกัน ชีวิตที่ความจริงเป็นเรื่องสร้างกันมานี้ เวลา จำกัดอย่างเต็มที จำกัดจนเราไม่อาจแทงยอดอ่อนของตัวเองออกมาหากว่าเรายืนอยู่ผิดเทศะนั้นเอง

เรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่กนกพงศ์ ฉายภาพของการเป็นนักคิดแนวมนุษย์นิยมได้อย่างน่าชื่นชม มันเป็นงานสัจนิยมที่วันนี้หาคนเขียนและทำออกมาถึงได้เช่นนี้ยากเต็มที ผมเชื่อว่าในจำนวนหลายเรื่องของรวมเรื่องสั้นเล่มนี้น่าจะมีเรื่องที่ดีเด่นเช่นนี้อีกมาก ขอเพียงแค่ให้เราอ่านจบและอ่านจริง

อยากบอกอีกสักนิดว่า วันนี้กนกพงศ์ไร้ชีวิตไปแล้ว แต่งานของเขากลับพูดแทนตัวของเขาไปได้อีกยาวนาน และนี่หล่ะคือพันธกิจของนักเขียนที่ต้องทำให้สำเร็จ

ตอนจบของเรื่องสั้นที่เราพูดถึงกันนี้กนกพงศ์ เขียนเอาไว้ว่า

“ข้าพเจ้าเผลออ่านประโยคแรก

พ่อของฉันเป็นชาวศรีลังกา...


ข้าพเจ้าไม่กล้าอ่านต่อ”






หมายเหตุ – จากคำนำของสำนักพิมพ์นาครในรวมเรื่องสั้น “นิทานประเทศ” บอกเอาไว้ว่างานเขียนของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นอกเหนือจาก “โลกหมุนรอบตัวเอง” ผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาก่อนหน้านี้ และ “นิทานประเทศ” เล่มนี้แล้ว ต่อไปยังมีรวมเรื่องสั้นที่จะติดตามและคิดว่าอยู่ในกลุ่มความคิดหรือชุดความคิดเดียวกันอีกสองเล่มหนึ่งคือ “รอบบ้านทั้งสี่ทิศ” และอีกหนึ่งคือ “คนตัวเล็ก” ผมเชื่อว่าสำหรับคนที่รักโลก รักชีวิต และรักความคิดต้องเฝ้ารอคอยที่จะติดตามและได้พูดคุยกับเขาผ่านการงานที่เขาสร้างทำขึ้นมานี้อย่างแน่นอน – อย่างน้อยก็ผมคนหนึ่งหล่ะที่รอคอย แต่ตอนนี้ขออ่าน “นิทานประเทศ”ให้จบก่อน หนังสือหนาจังง! – อารดา เปรมพันธุ์.

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/aradapream/2007/07/17/entry-1
ในเวลาและแผ่นดินอื่นของ“คนขายโรตีจากศรีลังกา”

ความจริงที่เราต่างสร้างกันขึ้นมาและต้องยอมรับมันไห้ได้


อารดา เปรมพันธุ์

หากว่า กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ไม่จากลาโลกนี้ไปเสียก่อน วรรณกรรมชั้นดีของสยามประเทศน่าจะมีออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง – ผมคิดเช่นนั้น

และหากว่ากนกพงศ์เป็นนักเขียนชาวยุโรปหรืออเมริกา การออกผลงานใหม่ภายหลังจากเขาลาโลกไปแล้ว ผลงานนั้นน่าจะเป็นผลงานที่ถูกกล่าวถึงและเฝ้าติดตามกันอย่างแน่นอน

แต่นี่เขาเป็นนักเขียนของประเทศไทย ประเทศที่ว่ากันว่ามีคนอ่านหนังสือน้อยเต็มที และที่อ่านวรรณกรรมก็มีน้อยยิ่งกว่าน้อย “นิทานประเทศ” รวมเรื่องสั้นเล่มใหม่ของกนกพงศ์ ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายหลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว จึงกลายเป็นเพียงรวมเรื่องสั้นเล่มหนึ่งที่ไม่แน่ใจว่าจะได้รับการยอมรับและกล่าวถึงมากน้อยเพียงใด

แน่นอนว่า อย่างน้อยที่สุดขอให้ผู้คนที่รักวรรณกรรมและหลงใหลในความงามแห่งวรรณศิลป์อ่านมันเถอะ อ่านมันเพื่อจะพบว่า วรรณกรรมชั้นดีนั้นเขาเป็นอย่างไร และที่ผ่านมานักเขียนบ้านเราก็ทำออกมาได้ดีไม่น้อยหน้าไปกว่าใครอื่นเขา

แม้เพียงกนกพงศ์จะเป็นนักเขียนหนุ่ม แต่พลังแห่งนักเขียนหนุ่มของเขาก็ได้รับการพิสูจน์มาแล้วจากน้ำเนื้อวรรณกรรมที่เขาสร้างสรรค์มาตลอดวันวัยแห่งชีวิตที่ผ่านมา

ผมต้องบอกตามตรงว่า สำหรับ “นิทานประเทศ” รวมเรื่องสั้นเล่มล่าสุดของกนกพงศ์ ที่รูปเล่มหนาเตอะเล่มนี้ ผมยังอ่านไม่จบ

อ่านไปได้เพียงแค่ 3 เรื่องแรกเท่านั้น แต่ก็พอมองเห็นโครงสร้างความคิดของบรรณาธิการในการรวมเล่มได้อย่างเลาๆ

แน่นอนว่าสำหรับกนกพงศ์ นั้นผู้อ่านของเขามักคุ้นเคยกับการเขียนเรื่องสั้นให้ออกมายาวๆ และมีสไตล์เป็นของตัวเองอย่างที่เห็น

การยอมรับในฝีไม้ลายมือนั้นมีมากแล้วจากผลงานมาสเตอร์พีซอย่าง “แผ่นดินอื่น” รวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรท์ที่ประเทศนี้ทันมอบให้กับเขาเป็นการตอบแทนเมื่อปี 2539 ที่ผ่านมาเขามีผลงานรวมเรื่องสั้นหลังจากแผ่นดินอื่นออกมาอีกหนึ่งเล่มในชื่อเล่มว่า “โลกหมุนรอบตัวเอง” ซึ่งผมเองก็ยังไม่ได้อ่าน

ดังนั้นขอผู้อ่านจงอย่าได้เข้าใจว่าผมวิจารณ์หนังสือรวมเรื่องสั้น “นิทานประเทศ” เพราะวันนี้เราจะมาสนุกกันกับการวิเคราะห์วิจารณ์ เรื่องสั้นเรื่องเดียวที่รวมอยู่ในเล่มนี้

เรื่องสั้นเรื่องนั้นชื่อ “คนขายโรตีจากศรีลังกา” (กรุณาขีดเส้นดินสองเส้นตีด้วยไม้บรรทัดใต้ชื่อเรื่อง)

ทำไมผมจึงคิดหยิบเรื่องสั้นเรื่องนี้มาวิเคราะห์วิจารณ์กันในที่นี้?

คำตอบคือ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวที่ผมอ่านจบจริงๆ ,เพราะเรื่องนี้มีประเด็นให้ผมคิดมากจริงๆ ,เพราะเรื่องสั้นเรื่องนี้มีมุมมองให้เราทำความเข้าใจได้มากจริงๆ ,และเพราะชื่อของมันเทห์ดี จริงๆ

ว่าแล้วผมก็ขอสนุกกับการวิจารณ์เรื่องสั้นเรื่อง “คนขายโรตีจากศรีลังกา” (กรุณาขีดเส้นดินสอสองเส้นตีด้วยไม้บรรทัดใต้ชื่อเรื่อง)

แม้งานเขียนชิ้นนี้จะถูกกำหนดให้เป็นวรรณกรรมวิจารณ์ กระนั้นผมก็ขอ “ลองเล่น” กับงานเขียนวิจารณ์ชิ้นนี้ดูสักหน่อย ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะผมคิดว่า ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรอย่างน้อยมันก็จะต้องทำหน้าที่ของมันนั้นคือ ตีแผ่งานเขียนชิ้นนี้ออกมาในเชิงวิเคราะห์วิจัยนั้นเอง


หากว่า “คนขายโรตีจากศรีลังกา”เป็นหนัง


แน่นอนว่า หากว่า “คนขายโรตีจากศรีลังกา”เป็นหนัง แน่นอนว่าหนังเรื่องนี้จะต้องเป็นหนังชีวิต สุข เศร้า เคล้าน้ำตา มีกลิ่นอาจของผู้กำกับอย่าง อับบาส แห่งอิหร่าน หรือไม่ก็เป็นหนังในแนวทางแบบของสัตยาจิต เรย์ แห่งอินเดีย

เรื่องราวแม้จะออกมาเป็นดราม่า แต่ก็ไม่ไหลลึกไปจนกลายเป็นเมโลดราม่าพื้นๆ ด้วยว่าการวางตัวละครของหนังเป็นการจัดวางที่ผู้เขียนทำเอาไว้อย่างแนบเนียน นับแต่ตัวเอกของเรื่องคือคนขายโรตีจากศรีลังกา (ณ ที่นี้เราจะเรียกเขาว่าพระเอกของเรื่อง) คนเดินเรื่องคือ ครูใหญ่ และครอบครัว ที่มีภรรยา และลูกๆ ส่วนนางเอกของเรื่องคือ เมียของคนขายโรตีจากศรีลังกาผู้อาศัยอยู่ในป่าช้ากับลูกๆ ที่คลอดกันออกมาเหมือนคลอกแม่ไก่

เรื่องราวเปิดขึ้นที่ตัวละครที่ไม่รู้ที่ไปแต่รู้ที่มาคือ คนขายโรตีจากศรีลังกา เขาเดินขายโรตีในหมู่บ้านเล็กๆ เดินไปทุกซอกทุกซอย มีลูกค้าบ้างไม่มีบ้างเป็นธรรมดาของการค้า แต่สุดท้ายก็เกิดข่าวลือเรื่องคนทมิฬเอาหัวเด็กไปถมสะพานที่จะทอดไปสู่สิงค์โปร (ในเรื่องนี้ผมไม่แน่ใจว่าในภูมิภาคอื่นของสยามประเทศเกิดขึ้นบ้างหรือเปล่า แต่สำหรับภาคใต้ของไทยเราช่วงปี 2519-2523 ข่าวลือประเภทนี้มีให้ได้ยินอย่างต่อเนื่อง และเสมอๆ)

บรรดาแม่ๆ ในหมู่บ้านมักจะเอาข่าวลือนี้มาขู่เมื่อลูกของเธอๆ ซุกซนและออกไปเล่นไกลบ้าน สุดท้ายคนศรีลังกาขายโรตีก็ต้องเลิกขายไป เพราะขายไม่ได้และจู่ๆ เขาก็ไปได้เมียเป็นหญิงสาวแปลกหน้าที่อาศัยอยู่ในที่ดินท้ายป่าช้าเป็นเมีย

เรื่องราวน่าจะจบลงแค่นี้ แต่ไม่เท่านั้น สุดท้ายคนขายโรตีชาวศรีลังกาก็ต้องประสบกับวิบากกรรมของชีวิต เมื่อเขามีลูกชายลูกชายก็ตายไปทีละคน มีลูกสาว 3 คนก็ไม่ค่อยพูดไม่ค่อยจากับใครเหมือนกับแม่ของเธอที่ดูเหมือนหวาดระแวงสังคมอยู่เสมอๆ จะมีก็เพียงคนศรีลังกาเท่านั้นที่ทำสวนปลูกผัก และเลี้ยงเป็นเป็นอาชีพอยู่ท้ายป่าช้า

กนกพงศ์ผูกเรื่องให้เข้มข้นขึ้นเมื่อลูกชายคนที่สองของคนศรีลังกาเสียชีวิตลงเพราะถูกเด็กในหมู่บ้านกลั่นแกล้งจับไปมัดเอาไว้ในวันหลังจากออกพรรษาของปีๆหนึ่ง ในจำนวนเด็กที่แกล้งเขานั้นก็มีลูกของครูใหญ่ ผู้เล่าเรื่องราวทั้งหมดของคนศรีลังกาคนนี้รวมอยู่ด้วย เหตุผลที่หนุน้อยให้กับพ่อและแม่ของเขาในการฆ่า ก็เพราะเด็กคนนั้นเป็นลูกของคนศรีลังกา คนศรีลังกาต้องจับเด็ก

เรื่องราวทั้งหมดของหนังจะบอกเล่าผ่านสายตาของครูใหญ่ กนกพงศ์มีหน้าที่มากที่สุดคือสอดแทรกอารมณ์ และพยายามฉายภาพของตัวละครด้านลึกออกมาให้มากที่สุด ดังนั้นในความเป็นหนังเราจึงมองเห็นความสุข ความทุกข์ และความเศร้าโศกผ่านใบหน้าและสายตาของครูใหญ่แทบทั้งหมด

เรียกว่าบทของพระเอกเรานั้นน้อยเต็มที โดยเฉพาะศรีนาคร คนศรีลังกา และภรรยากับลูกนั้นในเรื่องเขาพูดแทบนับคำได้ ตัวศรีนาครจะพูดก็เพียงแค่หลังยกมือไหว้ ว่า “เป็นพระกรุณายิ่ง...” ยิ่งลูกสาวด้วยแล้วไม่พูดเลย มีที่ถ่ายทอดเป็นคำพูดผ่านเรียงความว่า “พ่อของฉันเป็นชาวศรีลังกา...” เท่านี้ก็เรียกน้ำตาคนดูได้อย่างเต็มที่แล้ว

จุดนี้นับว่ากนกพงศ์ทำออกมาได้อย่างดีและน่าชื่นชมเลยทีเดียว คนที่เป็นคนไร้น้ำหนักในสังคม ถูกชะตากรรมเล่นงานอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร ไม่จำเป็นต้องพูดมาก พูดน้อยๆ แต่ต่อยหนักเท่านี้ก็เรียกความน่าสงสารหั้บคนดูได้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญเขาเข้าฉากเมื่อไรเมื่อนั้นแย่งซีนจากตัวละครอื่นได้ทันทีทันใดเสมอ

ตัวละครที่ดูจะมีชีวิตชีวาอีกตัวคือภรรยาของครูใหญ่ เธอถูกวางตัวให้เป็นผู้หญิงในสังคมไทย คนที่ว่าก็ว่าตามกัน เธอเองที่เป็นคนเอาเรื่องคนทมิฬจับเด็กไปขู่ลูกกระทั่งกลายเป็นปมในใจของเด็กน้อย และเธอเองที่เป็นคนไถ่บาปของครอบครัวด้วยการเอื้ออาทรครอบครัวชาวศรีลังกา

หนังเรื่องนี้จบลงอย่างน่าเศร้า แต่ก็ทิ้งปมให้ผู้ชมได้คิด มันเป็นดราม่าที่เรียกได้ว่าเป็นเพื่อชีวิตสุดๆ แตกต่างอยู่บ้างก็ตรงที่ผู้กำกับอย่างกนกพงศ์ ไม่ยอมปล่อยให้ตัวละครของเขาออกมาฟูมฟายหาความชอบธรรม หรือไม่แม้แต่จะให้ตัวละครของเขาทั้งหมดออกมาชี้นำผู้ชมว่าใครถูกใครผิดในสังคมที่ความจริงไม่รู้จักความจริงเช่นนี้

นัยหนึ่งหากว่า “คนขายโรตีจากศรีลังกา”เป็นหนัง กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ก็เป็นผู้กำกับและเขียนบท ดาราของเขาที่คัดมาแสดงทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีอย่างยิ่ง แต่ละคนต้องแสดงออกทางสีหน้ามากกว่าคำพูด ฉายภาพความคิดและปมปัญหาของเรื่องออกมาผ่านความสัมพันธ์ที่มีฉากหลังเป็นสังคมเล็กๆ สังคมหนึ่ง ในประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เช่นนั้นแล

บทสรุปของหนังจะจบลงตรงที่ “โลกยังคงหมุนต่อไป” ภาพเฟดเอ้าท์ เป็นกล้วยน้ำว้า และฝักถั่วที่เฉาเศร้าใบซบดิน...


แต่ “คนขายโรตีจากศรีลังกา”เป็นเรื่องสั้น


เป็นเรื่องสั้นที่มีขนาดยาวพอสมควร มันถูกเขียนเสร็จเมื่อไรไม่แน่ใจนักแต่ตีพิมพ์ครั้งแรกที่นิตยสารขวัญเรือน เมื่อปี 2545 เพราะนิตยสารขวัญเรือนเป็นนิตยสารแนวผู้หญิงแม่บ้านหรือเปล่าไม่แน่ใจนัก กนกพงศ์ จึงตัดสินใจส่งผลงานของเขาให้ไปเผยแพร่ที่สนามแห่งนี้เป็นที่แรก

และเพราะ “คนขายโรตีจากศรีลังกา” มีตัวละครสำคัญคือภรรยาครูใหญ่ที่ต้องเจ็บร้าวจากปมที่เธอผูกให้ลูกน้อย กระทั่งกลายเป็นรอยช้ำของครอบครัวหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจอีก งานเรื่องนี้เลยได้พิสูจน์ตัวมันเองกับผู้อ่านในชั้นต้น

กนกพงศ์ฉลาดที่สร้างตัวละครของเขาขึ้นมาได้อย่างลงตัว เรื่องราวบอกเล่าผ่านสายตาเอื้ออาทรของครูใหญ่ที่มีภรรยาและลูกสาวลูกชาย เนื้อหาของครอบครัวนี้ตีคู่กันไปกับครอบครัวของคนขายโรตีชาวศรีลังกา ที่มีลูกชายสองและลูกสาวอีกสาม

หากว่าในหมู่บ้านนั้นครูใหญ่และภรรยาเป็นที่นับหน้าถือตาเป็นบุคคลแนวหน้าของชุมชน ศรีนาครและภรรยาพร้อมลูกก็เป็นคนที่อยู่ชั้นล่างสุดของชุมชน หากว่าครูใหญ่เป็นคนที่โชคชะตาไม่ได้เล่นตลก ศรีนาครก็เป็นคนที่ถูกโชคชะตาเลือกมาให้กลายเป็นคนสำคัญของปัญหา

สิ่งที่กนกพงศ์ทำลงไปในงานเขียนชิ้นนี้ของเขาชั้นแรกก็คือ การเลือกเอาแง่มุมทางจิตวิเคราะห์แบบฟรอยด์ มาสอดใส่ในตัวละครทุกตัวของเรื่อง

ครูใหญ่เป็นคนแรกที่เกิด ID จากการหลงลืมและไม่เฝ้ามองลูกบ้านผู้อยู่ชายขอบ สุดท้ายมันกลายเป็น EGO ก็ต่อเมื่อลูกชายของเขาเองกลายเป็นหนึ่งในผู้ชำเราชะตากรรมบาปให้แก่คนที่เขามองข้าม

ตัวภรรยาของครูใหญ่ก็ไม่ต่างกัน

ลูกชายของเขานั้นถูกสร้าง EGO มาตั้งแต่ชั้นแม่ไปแล้วมันปลูกฝังจนยากยิ่งที่จะแก้ไข

แต่ทางออกเดียวที่มีอยู่ของสังคมคนแบบไทยๆ ก็คือ หากคำตอบให้กับตัวเองว่า “ได้ทำดีที่สุดแล้ว” ครูใหญ่และภรรยาแม้จะรู้สึกผิดอยู่เสมอที่ครอบครัวเธอทำกับครอบครัวศรีนาคร สามารถหาทางออกได้ก็เพียงแค่บอกตัวเองว่าทำดีที่สุดแล้ว

ดีที่สุดในความเข้าใจของเขาและเธอก็คือ การแสดงความเอื้ออาทร ไปช่วยปลูกผักปลูกหญ้าเพื่อชำระความผิดของตัวเองที่ค้างอยู่ภายใน แต่เมื่อครูใหญ่อยากจะช่วยให้ศรีนาครกลายสภาพจากคนศรีลังกามาเป็นคนไทย เขาต้องผจญกับปัญหาร้อยแปดทั้งปัญหาการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ หรือแม้แต่ปัญหาสังคมเขาไม่อาจช่วยอะไรได้นอกเพียงจากบอกตัวเองว่าทำดีที่สุดแล้ว

ตัวละครอย่างศรีนาคร ดูเหมือนจะเป็นตัวละครที่ตื้นที่สุดในจำนวนทั้งหมดทั้งนี้เพราะผู้เขียนกำหนดให้เขาต้องเป็นผู้รับชะตากรรม ดังนั้นผู้รับชะตากรรมไม่จำเป็นต้องแสดงบทบาทมาก ขอเพียงอย่างเดียว คือยอมรับกับความจริง และการยอมรับกับความจริงที่ง่ายที่สุดก็คือการโยนทั้งหมดไปให้กับความคิดทางศาสนา สรุปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกรรม และมันก็เหมาะควรที่สุดแล้วกับตัวละครที่จะต้องมาจากศรีลังกา เป็นศรีลังกาที่เป็นเมืองพระพุทธศาสนาที่สำคัญของโลก

ขณะที่เรื่องราวของปมปัญหาของเรื่องนั้นกนกพงศ์ทำออกมาได้อย่างน่าชื่นชม เขาช่างสังเกตและกลั่นกรองมันออกมา แม้ไม่ให้คำตอบแต่ก็ฉายภาพของสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นงานสัจจนิยมชั้นดีไปในที่สุด

ปัญหาของเรื่องที่เกิดขึ้นมานี้คือประเด็นเรื่องของความจริง กนกพงศ์ตั้งคำถามกับความจริงว่า เพียงเพราะเขา – ศรีนาคร ไม่ได้เกิดมาในแผ่นดินไทย และผิวของเขาดำ เท่านั้นหรือที่เขาจะต้องถูกกีดกันไม่ให้อาศัยอยู่ในแผ่นดินนี้

หรือหากว่าอยู่ได้ก็ต้องอยู่ที่ชายขอบของหมู่บ้านตรงที่แสงสว่างเข้าไม่ถึงอย่างป่าช้าท้ายหมู่บ้านเท่านั้นหรือ ทั้งที่แท้จริงในแง่ของความเป็นคนนั้น เขาเป็นคนดี จิตใจงาม และที่สำคัญ เขาก็มีชีวิตเลือดเนื้อรักลูกหลานและครอบครัวไม่ต่างจากครอบครัวของคนอื่น

งานเรื่องนี้ตั้งคำถามทั้งเชิงจุลภาคและมหภาคได้อย่างน่าสนใจ ขณะเดียวกันเขาก็ฉายภาพฉากหลังเอาไว้ให้มีเสน่ห์อย่างยิ่ง มีเสน่ห์จนเราๆ ท่านๆ ผู้อ่านทั่วไปทำความเข้าใจได้ โดยไม่ได้รู้สึกรักเกียจเจ้าหน้าที่หรือคนที่ครูใหญ่ไปติดต่อแต่อย่างใด (ทั้งนี้เพราะเราต่างแต่เฉยเมยอยู่ในสังคมที่แท้จริงความจริงคือสิ่งที่เราสร้างกันขึ้นมา)

ดังนั้นเรื่องสั้นเรื่องนี้ แท้จริงแล้วกนกพงศ์ชักชวนผู้อ่านของเขาให้มาถกเถียงกันเรื่องของความจริงนั้นเอง ซึ่งเขาก็สามารถจบการวิวาทะกับผู้อ่านได้อย่างน่าสนใจตรงประโยคที่ว่า...

“ชั่วขณะหนึ่งข้าพเจ้ารู้สึกชิงชังโลกใบนี้ ข้าพเจ้าต้องยอมแพ้กับความจริงง่ายๆ ความจริงที่เราชวนกันสร้างขึ้นมา ความจริงซึ่งไม่น่าจะเป็นความจริง! ทว่าเมื่อเราไม่อาจปฏิเสธ เราก็ต้องยอมรับมัน ข้าพเจ้าต้องยอมรับ! ศรีนาครยิ่งกว่าเขาถึงขั้นต้องยอมจำนน จะให้เขาทำเช่นใดได้อีก...”(นิทานประเทศ,สำนักพิมพ์นาคร 2546,หน้า 102)

เรื่องสั้นเรื่องนี้ถูกผูกขึ้นอย่างมีเสน่ห์ กนกพงศ์ใช้ฉากการเปลี่ยนแปลงมาเป็นพื้นหลังของเรื่อง ภาพบรรยายต่างๆ บ่งบอกเป็นนัยถึงการเดินทางของโลก ขณะเดียวกันปัญหาที่เกิดฉายบอกได้ก็เพียงปัญหาของความจริงที่มีอยู่เท่านั้น

ว่ากันว่าโลกหลังสมัยใหม่เรื่องของ กาละ และเทศะ เป็นประเด็นสำคัญในการวิเคราะห์วิจัยมนุษย์ เรื่องสั้นเรื่องนี้สรุปให้เราเห็นว่า คนศรีลังกา นั้นเขามาผิดที่ผิดเวลา ผิดกาละ และผิดเทศะ ทั้งนี้เพราะในเทศะ(พื้นที่) แห่งนี้ที่เขามาอาศัยนั้นมันถูกสร้างความจริงว่าเขาจะต้องอยู่อย่างคนอีกชนชั้นหนึ่ง แผ่นดินที่อยู่ก็เป็นทีที่คนในสังคมไม่อยู่กัน ดังนั้นเมื่อเขาเคลื่อนที่ตัวเองจากชายขอบมารับจ้างทำงานในเมือง เขาก็ต้องถูกจับและส่งกลับไปยังบ้านเกิดของตัวเองในที่สุด ส่วนเรื่อง กาละ (เวลา)ก็เช่นกัน ชีวิตที่ความจริงเป็นเรื่องสร้างกันมานี้ เวลา จำกัดอย่างเต็มที จำกัดจนเราไม่อาจแทงยอดอ่อนของตัวเองออกมาหากว่าเรายืนอยู่ผิดเทศะนั้นเอง

เรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่กนกพงศ์ ฉายภาพของการเป็นนักคิดแนวมนุษย์นิยมได้อย่างน่าชื่นชม มันเป็นงานสัจนิยมที่วันนี้หาคนเขียนและทำออกมาถึงได้เช่นนี้ยากเต็มที ผมเชื่อว่าในจำนวนหลายเรื่องของรวมเรื่องสั้นเล่มนี้น่าจะมีเรื่องที่ดีเด่นเช่นนี้อีกมาก ขอเพียงแค่ให้เราอ่านจบและอ่านจริง

อยากบอกอีกสักนิดว่า วันนี้กนกพงศ์ไร้ชีวิตไปแล้ว แต่งานของเขากลับพูดแทนตัวของเขาไปได้อีกยาวนาน และนี่หล่ะคือพันธกิจของนักเขียนที่ต้องทำให้สำเร็จ

ตอนจบของเรื่องสั้นที่เราพูดถึงกันนี้กนกพงศ์ เขียนเอาไว้ว่า

“ข้าพเจ้าเผลออ่านประโยคแรก

พ่อของฉันเป็นชาวศรีลังกา...


ข้าพเจ้าไม่กล้าอ่านต่อ”






หมายเหตุ – จากคำนำของสำนักพิมพ์นาครในรวมเรื่องสั้น “นิทานประเทศ” บอกเอาไว้ว่างานเขียนของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นอกเหนือจาก “โลกหมุนรอบตัวเอง” ผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาก่อนหน้านี้ และ “นิทานประเทศ” เล่มนี้แล้ว ต่อไปยังมีรวมเรื่องสั้นที่จะติดตามและคิดว่าอยู่ในกลุ่มความคิดหรือชุดความคิดเดียวกันอีกสองเล่มหนึ่งคือ “รอบบ้านทั้งสี่ทิศ” และอีกหนึ่งคือ “คนตัวเล็ก” ผมเชื่อว่าสำหรับคนที่รักโลก รักชีวิต และรักความคิดต้องเฝ้ารอคอยที่จะติดตามและได้พูดคุยกับเขาผ่านการงานที่เขาสร้างทำขึ้นมานี้อย่างแน่นอน – อย่างน้อยก็ผมคนหนึ่งหล่ะที่รอคอย แต่ตอนนี้ขออ่าน “นิทานประเทศ”ให้จบก่อน หนังสือหนาจังง! – อารดา เปรมพันธุ์.

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/aradapream/2007/07/17/entry-1

บทวิจารณ์วรรณกรรม

หนังสือกับเวทีประกวดวรรกรรมสร้างสรรค์


ถึงเวลาที่ต้องมาว่ากันที่ของจริง ตอน ปริมาณที่ไม่สนใจคุณภาพ

อารดา เปรมพันธุ์


หลังจากประกาศรายชื่อหนังสือรวมบทกวีที่ส่งเข้าประกวดรางวัลซีไรท์ประจำปี 2550 ซึ่งปรากฏว่าปีนี้มีรวมบทกวีส่งเข้าประกวดมากมายชนิดไม่พลิกความคาดหมาย นั่นคือมีมากถึง 67 สำนวนหรือเล่มแล้ว ดูเหมือนว่า คำกล่าวที่ว่า “บททกวีตายแล้ว” ในบ้านเรายังไม่น่าจะใช้ได้


ที่ยังไม่น่าจะใช้ได้นั่นเราวัดกันเฉพาะปริมาณของงานที่สร้างกันขึ้นมา แต่ไม่นับหรือมองผ่านเรื่องของคุณภาพไป


แต่เมื่อ เอาเข้าจริงๆ ในฐานะนักอ่านคนหนึ่งที่รู้สึกอยากจะหาผลงานของกวีที่ส่งเข้าประกวด และเดินร้านหนังสือเพื่อหาซื้อผลงานเหล่านั้น ผมกลับพบว่า มีหนังสือรวมบทกวีที่วางจำหน่ายในร้านจริงๆ ไม่เกิน 20 เท่านั้น และในจำนวนอันน้อยนี้ก็ดูเหมือนว่าเดินหาซื้อกันยากเย็นอีกต่างหาก


ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ในเมื่อไหนๆไหนๆแล้วเอาเป็นว่า ครั้งนี้ผมขอเอาความรู้ที่พอมีอยู่บ้างเล็กๆ น้อยๆ มาบอกเล่าให้ผุ้อ่านที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับแวดวงนี้มากนักหรือผู้อ่านที่อึดอัดกับปรากฏการณ์เหล่านี้ได้รู้กันพอเป็นข้อมูลก็แล้วกัน


ข้อแรกที่น่าสนใจนั่นคือ ปัจจุบันนี้ การประกวดรางวัลซีไรท์กลายเป็นกระแสหลักของวงวรรณกรรมสร้างสรรค์ของไทยไปแล้ว ซีไรท์ของไทยแบ่งแยกออกเป็นงาน 3 ประเภทชัดเจน คือ นวนิยาย รวมเรื่องสั้น และรวมบทกวี ทั้ง 3 ประเภที่ว่าจะจัดประกวดสลับกันไปตามลำดับ ดังนั้นเมื่อการประกวดรางวัลนี้กลายเป็นกระแสหลักไปแล้วในแวดวงของวรรณกรรมสร้างสรรค์ดังนั้นในการจัดพิมพ์ในแต่ละปีเราจึงต้องยอมรับกันว่าปีไหนที่มีการประกวดนวนิยาย ผลงานนวนิยายก็จะออกมาวางจำหน่ายให้เลือกอ่านกันมาก ปีไหนที่เป็นรอบของรวมเรื่องสั้นปีนั้นจะมีแต่รวมเรื่องสั้น และหากว่าปีไหนเป็นรอบของบทกวีกระแสก็จะไปอยู่ที่งานรวมบทกวี


จุดนี้กลายเป็นว่ารอบการประกวดรางวัลซีไรท์ กลายเป็นรอบของข้อกำหนดการพิมพ์หนังสือของสำนักพิมพ์ไปด้วยแล้วเช่นกัน ทั้งนี้เพราะสำนักพิมพ์ที่สนใจจะพิมพ์งานวรรณกรรมต่างก็หวังที่จะแทงหวยเพื่อฟลุ๊คมีผลงานของตัวเองเข้ารอบหรือได้รางวัลเป็นสำคัญ ดังนั้นหากว่าปีไหนที่ซีไรท์ประกวดประเภทหนึ่งแล้ว ประเภทอื่นๆ ยากยิ่งนักที่จะได้ตีพิมพ์ออกมา(เรื่องนี้อาจมีเว้นบ้างในบางสำนักพิมพ์ที่ถือว่ามีคุณภาพจริงๆ)


นี่คือข้อจำกัดหนึ่งมี่ต้องเข้าใจกันไปแล้วในวันนี้ แม้แต่นักเขียนเองก็ดูเหมือนว่า เมื่อการประกวดถึงรอบของประเภทไหนก็จะทำงานประเภทนั้นออกมา คือปีไหนเรื่องสั้นก็ตะลุยเขียนเรื่องสั้น ปีไหนนวนิยายก็ตะบันเขียนนวนิยาย บางคนเขียนบทกวีไม่เป็นแต่เมื่อถึงรอบของบทกวีก็ฝืนรวบเอาผลงานที่พอมีมารวมกับเขาบ้าง ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อมีผลงานส่งเข้าประกวด และได้ยินไม่น้อยว่า เพื่อไม่ให้ชื่อในฐานะของนักเขียนหายไปจากบรรณภิพบ(แปลกดี)


ในจุดนี้เรามิพักพูดถึงเรื่องความต้องการด้านรายได้ที่จะได้จากผลงานนั้นๆ เพราะต่อไปเราจะมาพูดกันในประเด็นนี้แบบกว้างๆมากยิ่งขึ้น


ประเทศไทยปี 2550 งานวรรณกรรมสร้างสรรค์ถูกมองเมินกว่างานแนวทางอื่น ด้วยเหตุผลที่แจงชี้จากสำนักพิมพ์ว่าเพราะไม่สามารถทำยอดจำหน่ายได้ สู้หนังสือประเภทงานแปลหรืองานแฟนตาซีไม่ได้ อีกทั้งไม่ต้องไปเทียบกับงานประเภทแฉของดาราหรืองานช่างฝันของวัยรุ่น ดังนั้นบรรดานักเขียนและนักอยากเขียนจึงจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด ดังนั้นการ “ช่วยเหลือตัวเอง”ที่ปรากฏจึงแสดงออกมาให้เห็นในเวทีของการประกวด


ด้วยเรื่องของ “การช่วยเหลือตัวเอง(น่าจะตัดคำว่า ‘เหลือ’ออกนะ)” ที่นำไปสู่การทำความเข้าใจกันในประเด็นที่ 2 ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นหลักที่เราจะพูดกันในที่นี้ และเป็นประเด็นที่มองเห็นและน่าเบื่อที่สุดในเวลานี้ ก่อนอื่นเราคงต้องทำความเข้าใจความเป็นนักเขียนกันเสียก่อน ในสายตาของผมแล้ววันนี้นักเขียนบ้านเรา(เอาเฉพาะนักเขียนแนวสร้างสรรค์นะครับ)ในเวลานี้ มีอยู่สองประเภท


ประเภทแรกคือประเภทที่สร้างสรรค์งานและใช้งานหาเลี้ยงตัวเองไปในตัวด้วย นักเขียนประเภทแรกผมชื่นชมเพราะเขาคือคนทำงานเขียนแท้จริง เมื่อทำงานเขียนแท้จริงแล้วแน่นอนก็ต้องให้งานที่เขียนและทำนั้นเลี้ยงตัวเองให้ได้ ซึ่งในกลุ่มนี้เราไม่จำเป็นต้องไปพูดกันถึงเรื่องของคุณภาพในการสร้างสรรค์งานว่ามีมากหรือน้อยเท่าไร สำหรับผมหากว่าใครที่เป็นนักเขียนแท้จริงแล้วแน่นอนเขาย่อมพยายามสร้างสรรค์งานที่ดีที่สุด นั่นเพราะงานที่ดีนอกเหนือจะทำความภาคภูมิใจแล้ว มันจะนำมาสู่รายได้และอื่นๆ ที่หวังเอาไว้ด้วย หากงานไม่ดีสุดท้ายผู้อ่านก็จะไม่ให้คุณค่ากับตัวเขาเอง


ประเภทที่ 2 คือประเภทนักเขียนชั่วคราวหรือนักอยากเขียน ประเภทหลังอาจจะมีฝีมือหรือไม่มีผีมือก็เป็นเรื่องของตัวบุคคลไป บางคนอาจจะมีความสามารถมากในการสร้างสรรค์งานแต่ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจจึงต้องเจียดเวลาและหัวสมองไปให้กับการเลี้ยงชีพแต่มีไม่น้อยที่เขียนหนังสือไม่เป็นแต่กระเหี่ยนกระหือรืออยากเป็นนักเขียนจึงพยายามเขียนงานออกมาสู่สายตาของนักอ่าน ต้องทำความเข้าใจนะครับประเภทหลังนี้ไม่ได้ผิดหรือถูกที่จะเป็นนักเขียนหรือนักอยากเขียนแต่บางครั้งเราต้องมานั่งพูดคุยกันบ้างว่า แท้จริงแล้วการสร้างสรรค์งานมันคืออะไร และคุณค่าที่แท้จริงของวรรณกรรมในรูปของหนังสือนั้นมันมีอะไรที่ต้องสนใจ


ทั้งสองประเภทที่ว่ามานี้ผมไม่ได้แบ่งแยกนะครับว่า ประเภทหนึ่งประเภทใดต้องดำรงชีพด้วยการเขียนหนังสืออย่างเดียวโดยไม่ต้องทำงานทำการอื่นๆ นักเขียนอาชีพก็สามารถเป็นนักเขียนและเป็นนักการเมืองหรือนักอื่นๆ ไปได้พร้อมกัน หรือนักอยากเขียนอาจจะไม่ทำงานอะไรเลยก็ได้หวังพึ่งแต่ค่าเรื่อง หรือจะเป็นนักอย่างอื่นไปด้วยก็คงไม่มีใครว่าอะไร


ด้วยเหตุผลของนักเขียนและนักอยากเขียน 2 ประเภทที่ว่านี้เอง เมื่อผนวกเข้ากับกระแสและแนวทางของการประกวดรางวัลซีไรท์ที่กำลังกลายเป็นกระแสหลักในการชี้นำการเกิดและดำรงอยู่ของวรรณกรรมสร้างสรรค์ของไทยไปแล้ว ทำให้เราเห็นอะไรด้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น


โดยเฉพาะในรอบของการประกวดรางวัลซีไรท์ประเภทบทกวี ที่เมื่อสักหนึ่งหรือสองปีที่ผ่านมา หากว่าเราเดินตามแผงหนังสือแล้วเราอาจจะไม่เห็นผลงานรวมบทกวีใหม่ๆ ของนักเขียนวางจำหน่ายเลย แต่เมื่อทางโอเรียลเต็ลประกาศรับหนังสือเข้าประกวดเราก็พบว่ามันมีปริมาณมากถึง 67 สำนวนเลยทีเดียว 67 สำนวนหมายถึง 67 เล่มหากวางแผงเอาเป็นว่าจัดชั้นเฉพาะบทกวีก็ปาเข้าไปครึ่งร้านแล้วนะครับ แต่ปรากฏว่าวันนี้หากเราเดินไปถามที่ร้านอาจจะมีให้ซื่อได้เพียงไม่กี่เล่มเท่านั้น


ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?


ผมจะขยายความออกมาให้เห็นต่อว่า ในจำนวนหนังสือที่ส่งเข้าประกวดนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทครับ ประเภทแรก คือประเภทที่พิมพ์ออกมาจริง ในจำนวนพิมพ์ 1,000 ฉบับ 2,000 ฉบับ และไม่น่าจะเกินกว่า 3,000 ฉบับในประเภทบทกวี อีกทั้งได้วางจำหน่ายจริง คือผ่านระบบสายส่ง และมีวางจำหน่ายในร้ายหนังสือจริง ส่วนว่าสายส่งจะส่งผ่านสายส่งใหญ่หรือฝากวางจำหน่ายด้วยตัวเองก็ตามถือว่าได้ทำจริงออกมา ในจำนวนนี้มีทั้งที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มาตรฐานและเจ้าของผลงานลงทุนควักสตางค์มาพิมพ์เอง กระนั้นในส่วนนี้สำหรับผม(นักอ่านคนหนึ่ง) ขอยกนิ้วให้ว่าเป็นตัวจริงครับ


ประเภทที่สอง คือประเภทพิมพ์จริงเหมือนกันแต่เป็นประเภทพิมพ์จริงแบบชั่วคราว(อีกแล้ว) ที่ว่าพิมพ์แบบชั่วคราวเพราะ งานเขียนกลุ่มนี้ดูเหมือนจะเป็นประเภทที่วางเป้าเอาไว้ที่ “กล่อง” คือ “กล่องจะนำมาสู่รายได้”มากกว่าที่ “ผลงาน” คือ “ผลงานนำมาสู่รายได้” ดังนั้นเป้าหมายในการรวมเล่มบทกวีจึงพุ่งตรงไปที่การทำหนังสือเพื่อส่งเข้าประกวดโดยเฉพาะ แม้จะผ่านกระบวนการพิมพ์จริงๆ แต่ก็ขยักเอาไว้คือ พิมพ์ออกมาในจำนวนน้อยคือไม่เกินกว่า 500 ก๊อปปี้ หรือบางเล่มอาจจะออกมาในปริมาณเพียงแค่พอส่งเข้าประกวดสักหนึ่งหรือสองสนามเท่านั้น วิธีการประเภทนี้ผู้เขียน(หากลงทุนเอง) หรือสำนักพิมพ์ ใช้วิธีแบบหมอดูคือ “เก็ง” เอาไว้ว่าน่าจะเข้ารอบหรือโชคดีได้รางวัลใดรางวัลหนึ่ง (อ้อตรงนี้ต้องเข้าใจนะครับว่าหากพลาดรางวัลซีไรท์แล้วยังมีรางวัลอื่นรองรับไม่ว่า เซเว่นบุ๊คอวร์ด หรือรางวัลสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เป็นต้น)


หากได้รางวัลใหญ่อย่างซีไรท์ ซึ่งเป็นรางวัลใหญ่ขึ้นมาก็อาจจะสั่งโรงพิมพ์ให้ “ปั๊ม”ออกมาทันที และวางจำหน่ายได้ทันทีเมื่อประกาศผลเรียบร้อยแล้ว แต่หากได้รางวัลรองๆลงไปอาทิ รางวัลเซเว่นบุ๊คอวร์ด(อันที่จริงรางวัลนี้มีเงินรางวัลมากกว่าซีไรท์เสียอีกนะ ) หรือรางวัลงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ทางผู้พิมพ์ก็ต้องขอพิจารณาก่อนว่าจะมีความเสี่ยงมากน้อยเท่าไร ดังนั้นนักอ่านที่อยากอ่านจึงจะต้องรอลุ้นกันไปก่อนหากอยากจะหาหนังสือในกลุ่มนี้อ่าน


ประเภทที่สาม คือประเภทสุดท้าย ประเภทนี้ผมเรียกว่าประเภทชายขอบหรือประเภทร้อนวิชา หรือจะเรียกว่าประเภทช่วยเหลือตัวเองก็คงพอได้ กล่าวคือ แบ่งออกเป็นสองกลุ่มนะครับ กลุ่มแรกเป็นนักเขียนที่มีชื่อและผลงานมาบ้างแล้ว หรืออาจจะเป็นที่ยอมรับกันบ้างแล้ว แต่ว่าประเภทของงานนั้นๆ หรือเล่มนั้นๆ ไม่มีสำนักพิมพ์ใดสนใจจะพิมพ์ เมื่อจะไม่รวมเล่มก็เสียดายโอกาสที่อาจจะฟลุ๊คได้รับรางวัลในปีนั้นไป และครั้นจะลงทุนเอาเงินไปเสียค่าทำเพลทและเสียค่ากระดาษและค่าพิมพ์ซึ่งต้องใช้เงินพอสมควรอยู่(แม้จะทำออกมาในแบบประเภทที่สองก็ตาม) จึงต้องตัดสินใจใช้วิธีจัดหน้าเอง ทำเอง ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ออกมาแล้วก็พับเล่มเอง ทำปกเอง ใสกาวเอง (เราเรียกหนังสือประเภทนี้อย่างให้กำลังใจว่า หนังสือทำมือ) ในจำนวนที่พอส่งเข้าประกวดได้เป็นอันจบเรื่อง และกลุ่มที่สองคือประเภทคนรุ่นใหม่ใจร้อน หรือร้อนวิชา บางคนเขียนงานไปบ้างแล้วแต่สำนักพิมพ์ยังไม่สนใจพิมพ์เพราะยังไม่มีจุดขายหรือมีชื่อพอ บางคนอาจจะเพิ่งเริ่มเขียนงานมาไม่นานนักแต่มีปริมาณงานพอสมควรเสียดายของ ครั้นส่งให้สำนักพิมพ์พิจารณาเขาก็ไม่เลือกสุดท้ายก็มีทางออก บอกกับตัวเองให้พอดีใจเล่นๆ อยู่คนเดียวว่า ดลกเขายอมรับกันแล้วว่าหนังสือทำมือนั่นเป็นเรื่องของคนที่มีไฟ เมื่อเรามีไฟก็ทำมือส่งเข้าประกวดเสียเองเลยดีกว่า ส่วนว่าจะผลิตออกมามากน้อยนั่นก็ว่ากันไปตามแรงปรารถนาของแต่ละคน แต่บอกเอาไว้ได้คือ สำหรับนักแล้วแล้วประเภทที่สามนี้ หากไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวหรือเทพดลใจให้ไปเดินสะดุดเอาตามแถบมหกรรมสินค้าราคาถูกแล้วอย่าหวังจะได้อ่านงานรวมเล่มนี้เลย


ในการส่งหนังสือเข้าประกวดรางวัลซีไรท์ปีนี้จึงให้ผู้อ่านลองเอาหนังสือ 3 ประเภทมาหารกับจำนวนดูก็แล้วกัน ก็จะรู้ว่าวันนี้ตลาดหนังสือบ้านเราเป็นอย่างไร และใครที่อยากหาอ่านรวมบทกวีที่ส่งเข้าประกวดจะได้ทำใจได้ว่าเราจะสามารถอ่านงานเหล่านี้ได้กี่เล่ม


มีประเด็นที่ผมอยากจะพูดอีกสักนิดนั่นคือ ในการประกวดรางวัลซีไรท์ยังไม่เคยปรากฏนะครับว่า กลุ่มหนังสือในประเภทที่สามคือหกลุ่มหนังสือทำมือเล่มใดได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ไป ซึ่งในที่นี้ผมต้องขอแสดงความยินดีกับวงการวรรณกรรมบ้านเราอยู่ ส่วนประเภทแรก และประเภทที่สองนั้นเขาแบ่งรางวัลกันเองอยู่เสมอมาครับ


คราวนี้ขอมาพูดกันในเรื่องของการสร้างสรรค์กันบ้าง ในฐานะนักวิจารณ์วรรณกรรม ผมอยากบอกในที่นี้ว่า ผมภูมิใจเสมอที่พบว่าหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งวางจำหน่ายในร้านหนังสือ ไม่ว่านักเขียนคนนั้นๆ จะเป็นนักเขียนมีชื่อหรือนักเขียนใหม่ ขอเพียงให้รู้จักสร้างสรรค์งานออกมาเท่านั้นก็พอ ที่สำคัญผมยังเชื่อในแนวทางแบบเก่าว่า งานที่รวมเล่มและออกวางจำหน่ายนั้นอย่างน้อยที่สุดมันต้องผ่านการกลั่นกรองจากบรรณาธิการหรือผุ้อ่านบางคนมาแล้วชั้นหนึ่ง (ส่วนจะคุณภาพหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องพูดกันอีกต่างประเด็นไป)ดังนั้นเมื่อเห็นหนังสือวางจำหน่าย ซึ่งแปลกว่าเปิดโอกาศให้คนทั่วไปได้หาอ่านได้โดยมาตรฐานนั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยหนังสือเล่มนี้ วรรณกรรมเล่มนี้มีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง (ส่วนมันจะไปอยู่ในชั้นหนังสือบ้านไหนนั้น หนังสือมันจะเลือกหาคนอ่านของมันเอง นานมาแล้วจำลอง ฝั่งชลจิตรว่าเอาไว้อย่างนั้น)


ขณะที่สำหรับหนังสือประเภททำมือนั้น แท้จริงผมยอมรับว่ามันก็ดีอยู่ที่เรามีทางออกที่จะสามารถช่วยตัวเองได้ แต่ก็อย่าลืมนะครับว่า การช่วยตัวเองนั้นมันไม่ทำให้ “ท้อง”ได้ การท้องนั้นมันสำคัญเพราะมันหมายความว่าเขาจะสามารถสืบทอดเผ่าพันธ์ของเขาได้ หากว่ามนุษย์เรารู้จักแต่การช่วยตัวเองแล้วเราจะสืบทอดเผ่าพันธ์กันอย่างไร แล้วหากมีผลงานหนังสือประเภททำมือออกมากันหมดต่อไปเผ่าพันธ์วรรณกรรมสร้างสรรค์ของไทยเราจะเป็นอย่างไร ให้โอกาสคนที่อยากอ่านหนังสือดีๆ ได้ใช้เงินของตัวเองซื้อหาอ่านกันบ้าง อย่าหวังเพียงแค่ทำกันเองแล้วอ่านกันเอง ซึ่งสุดท้ายก็จะชื่นชมกันเองเท่านั้น


หรือสำหรับผู้ที่ทำหนังสือเพื่อหวังแค่ส่งเข้าประกวดเท่านั้น เคยคิดหรือไม่ว่า แม้จริงแล้วงานของท่านนั้นอาจจะมีค่ากว่ารางวัลนั้นๆก็ได้ ทำไมเราจึงต้องมาปิดโอกาสตัวเองด้วยความมักเร็วเพียงแค่ใจปรารถนาเท่านั้นเล่า บอกตามตรงผมยังไม่เคยเห็นนักเขียนใหญ่คนไหนเขามีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับได้จากการมีผลงานทำออกมาแบบประเภททำมือเลย


และอยากบอกต่อถึงกรรมการด้วยว่า ในการจัดการแข่งขันหรือประกวดหนังสือรางวัลสำคัญๆ นั้น เป้าหมายที่แท้จริงก็เพื่อสร้างสรรค์และส่งเสริมแวดวงวรรณกรรมและงานเขียน และอาจหมายรวมไปถึงวงการหนังสือและนักอ่านด้วย หากว่าเราตัดสินให้รางวัลกับหนังสือที่ทำออกมาเพื่อหวังแค่ส่งเข้าประกวดแล้ว เป้าหมายของเรานั้นจะสมหวังสักเท่าไร


หากผมเป็นกรรมการบ้าง ผมจะบอกให้งานดีๆ ที่ทำมือออกมาส่งประกวดกลับไปส่งประกวดในประเภทที่เขารับต้นฉบับ หรือไปประกวดในประเภทหนังสือทำมือเสีย แต่หากว่าเชื่อว่างานของคุณมีคุณภาพจริงก็ไปพิมพ์ออกมาวางขายกันจริงๆ เสียก่อน เพราะหนังสือไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อทำออกมาให้กรรมการอ่านเท่านั้น แต่หนังสือที่แท้จริงต้องทำให้มวลชนอ่านนะคร๊าบบ


(ผมคัดหนังสือที่วางจำหน่ายทั่วไปและพอหาซื้อได้ และส่งเข้าประกวดรางวัลซีไรท์ปีนี้มาให้ดูกันพอประดับอารมณ์ หากมีโอกาศฉบับต่อไปเราจะมาดูเนื้อหาของหนังสือทั้ง 67 เล่ม หากหามาได้ว่า นักเขียนคนไหน หรือผลงานเล่มใด ที่เริ่มสดใสกาววาวในเวทีซีไรท์ปี 2550)

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/aradapream/2007/07/17/entry-2

แจ้งนักเรียนวิชาวรรณกรรมปัจจุบัน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ (แผนการเรียนอังกฤษ – ฝรั่งเศส)
ภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทยเพิ่มเติม วรรณกรรมปัจจุบัน ท ๔๑๒๒๒

อ่านข้อเขียนประเภทต่างๆ และวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ทั้งบันเทิงคดี และสารคดีที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง พิจารณาแยกข้อเท็จจริงออกจากข้อคิดเห็น แยกองค์ประกอบของวรรณกรรม เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์ในเรื่องที่อ่าน เข้าใจสารของผู้แต่งและเห็นคุณค่าของวรรณกรรมที่อ่าน